เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดประชุมการต่อต้านการทุจริตและประกาศนโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy) เพื่อปลูกฝังให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การปฏิบัติราชการด้วยความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ปราศจากการทุจริต  พร้อมทั้งให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ทุกวาระเทศกาลและโอกาสพิเศษต่าง ๆ เว้นแต่กรณีจำเป็นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรับของขวัญหรือของกำนัล และประโยชน์อื่นใด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือการรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2544 และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563 ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัด   ข่าว : จงรักษ์ คชสังข์
Read more
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งนักวิจัย ปฏิบัติการ จำนวน 1 อัตรา วุฒิปริญญาโท สาขาทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม สาขาทางด้านสังคมศาสตร์ สาขาทางด้านมนุษยศาสตร์ สาขาทางด้านวิจิตรศิลป์ สาขาทางด้านประยุกต์ศิลป์  เงินเดือน 19,890 บาท รับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2566 ในวันและเวลาราชการ โดยสมัครด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ หรือทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ pd.msu.ac.th    รายละเอียดตามประกาศ
Read more
เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปะวัฒนธรรม หลักสูตรเทคนิคการผูกประดับจับจีบผ้า วิทยากรโดยนายนัฐพงษ์ ภูภักดี นักวิชาการศึกษาประจำสถาบันวิจัยศิลปะฯ  ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่บุคลากรของสถาบันได้ศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ พัฒนา ต่อยอดสร้างรายได้ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป ในการอบรมได้รับเกียรติจากนางฉวีวรรณ อรรคเศรษฐัง หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ สถาบันวิจัยศิลปะฯได้ให้เกียรติเปิดการอบรม โดยมีผู้เข้าอบรมมีความสนใจที่จะนำเอาความรู้ไปถ่ายทอดและนำไปใช้ในการจัดประดับตกแต่งสถานที่ในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่สังกัดเพื่อประหยัดงบประมาณในการจากประดับตกแต่งสถานที่ ซึ่งในการอบรมวิทยากรได้เน้นการอบรมเชิงปฏิบีติการ ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเพื่อนำไปปฏิบัติได้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปัญหาที่ผู้เข้าอบรมได้ประสบรมาร่วมแลกเปลี่ยนและให้เทคนิคในการแก้ปัญหา  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ได้ จากผลงานการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าอบรมพบว่าผู้เข้าอบรมไม่ได้มีพื้นฐานในการผูกประดับจับจีบผ้า สามารถฝึกปฏิบัติผูกประดับ จับ จีบผ้า ได้อย่างสวยงาม ซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้จาการอบรมไปใช้งานได้และยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมได้ ข่าว: สุพิน ไตรแก้วเจริญ ภาพ : วัชระ 
Read more
เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปะวัฒนธรรม หลักสูตรการอ่านเขียนอักษรโบราณอีสาน วิทยากรโดยนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยศิลปะ ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ พัฒนา ต่อยอดตลอดจนการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าอบรมมาจากหลากหลายอาชีพโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการเรียนรู้เพื่อไปอ่านอักษรโบราณที่พบเห็นเช่นในฐานพระพุทธรูปตลอดจนเอกสารต่างๆ เพื่อจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในระหว่างการอบรมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอักษรโบราณที่ผู้เข้าอบรมได้พบเห็น การฝึกทักษะการอ่านอักษรโบราณจากเอกสานใบลาน การฝึกเขียนอักษรโบราณ อักษรไทน้อยและอักษรธรรม ซึ่งผู้เข้าอบรมให้ความสนใจและตั้งใจอบรมตลอดหลักสูตร หลังเสร็จสิ้นการอบรมนายสถิตย์ เจ็กมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานได้ให้เกียรติในการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าอบรมดังกล่าว ข่าว: สุพิน ไตรแก้วเจริญ ภาพ : ศรัณย์พงษ์ ชรารัตน์/วัชระ พิมพ์จันทร์
Read more
เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จัดโครงการ เสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอีสาน “พิพิธภัณฑ์กินได้” ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยระบบออนไลน์ ผ่าน Microsoft Teams และการถ่ายทอดสัญญาณทาง Facebook Live  กิจกรรมครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคอีสาน และองค์กรพันธมิตร ในการแสวงหาแนวทางในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้เป็นสถาบันที่มีส่วนร่วมหรือความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นทั้งด้านการคุณค่าและมูลค่า การเสวนาในครั้งนี้ เป็นการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนพิพิธภัณฑ์ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์ ในหัวข้อ “พิพิธภัณฑ์กินได้: พิพิธภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิต” และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน รวมทั้งกิจกรรมการสาธิตออนไลน์พิพิธภัณฑ์กินได้ 3 เรื่อง คือ เรือนอาหารการกิน เรือนใบลาน และเรือนผ้าทอ พิพิธภัณฑ์กินได้ เป็นโอกาสในอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในการสร้างรายได้ และสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น 
Read more