เมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2567 นายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัย พร้อมด้วยนายชวนากร จันนาเวช นายพัชรินทร์ ประทุมชาติ บุคลากรงานเอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รับเชิญเป็นวิทยากร ในโครงการการอนุรักษ์และสืบสานอักษรโบราณอีสาน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการอ่านและการจัดเก็บเอกสารใบลานให้คงสภาพเพื่อรอการปริวรรตต่อไปให้กับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ณ วัดโพธิ์ชัยนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย . ภาพ/ข่าว – นายพัชรินทร์ ประทุมชาติ
Read more
เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปะวัฒนธรรม หลักสูตรเทคนิคการผูกประดับจับจีบผ้า วิทยากรโดยนายนัฐพงษ์ ภูภักดี นักวิชาการศึกษาประจำสถาบันวิจัยศิลปะฯ  ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่บุคลากรของสถาบันได้ศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ พัฒนา ต่อยอดสร้างรายได้ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป ในการอบรมได้รับเกียรติจากนางฉวีวรรณ อรรคเศรษฐัง หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ สถาบันวิจัยศิลปะฯได้ให้เกียรติเปิดการอบรม โดยมีผู้เข้าอบรมมีความสนใจที่จะนำเอาความรู้ไปถ่ายทอดและนำไปใช้ในการจัดประดับตกแต่งสถานที่ในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานที่สังกัดเพื่อประหยัดงบประมาณในการจากประดับตกแต่งสถานที่ ซึ่งในการอบรมวิทยากรได้เน้นการอบรมเชิงปฏิบีติการ ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะเพื่อนำไปปฏิบัติได้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปัญหาที่ผู้เข้าอบรมได้ประสบรมาร่วมแลกเปลี่ยนและให้เทคนิคในการแก้ปัญหา  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ได้ จากผลงานการฝึกปฏิบัติของผู้เข้าอบรมพบว่าผู้เข้าอบรมไม่ได้มีพื้นฐานในการผูกประดับจับจีบผ้า สามารถฝึกปฏิบัติผูกประดับ จับ จีบผ้า ได้อย่างสวยงาม ซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้จาการอบรมไปใช้งานได้และยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมได้ ข่าว: สุพิน ไตรแก้วเจริญ ภาพ : วัชระ 
Read more
เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปะวัฒนธรรม หลักสูตรการอ่านเขียนอักษรโบราณอีสาน วิทยากรโดยนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยศิลปะ ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรมอีสาน การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมการบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ พัฒนา ต่อยอดตลอดจนการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าอบรมมาจากหลากหลายอาชีพโดยมีวัตถุประสงค์ต้องการเรียนรู้เพื่อไปอ่านอักษรโบราณที่พบเห็นเช่นในฐานพระพุทธรูปตลอดจนเอกสารต่างๆ เพื่อจะนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในระหว่างการอบรมมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอักษรโบราณที่ผู้เข้าอบรมได้พบเห็น การฝึกทักษะการอ่านอักษรโบราณจากเอกสานใบลาน การฝึกเขียนอักษรโบราณ อักษรไทน้อยและอักษรธรรม ซึ่งผู้เข้าอบรมให้ความสนใจและตั้งใจอบรมตลอดหลักสูตร หลังเสร็จสิ้นการอบรมนายสถิตย์ เจ็กมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานได้ให้เกียรติในการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าอบรมดังกล่าว ข่าว: สุพิน ไตรแก้วเจริญ ภาพ : ศรัณย์พงษ์ ชรารัตน์/วัชระ พิมพ์จันทร์
Read more
ดร.นางอัจฉรี จันทมูล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และนักวิจัยประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน หัวหน้าโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ในชื่อ “ชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจรเพื่อการท่องเที่ยว”  ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีมีคณะที่ร่วมรับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ ได้ดำเนินจัดทำคู่มือเส้นทางท่องเที่ยว “สุขภาพดี เกษตรอินทรีย์ สะดืออีสาน” ในรูปแบบเอกสารอิเลคทรอนิกส์และวีดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจได้ใช้เป็นคู่มือประกอบการท่องเที่ยวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน คู่มือเส้นทางท่องเที่ยว (Ebook) สื่อวีดิทัศน์   ที่มา : ดร.อัจฉรี จันทมูล  
Read more
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ร่วมกับกองส่งเสริมการวิจัยและ บริการวิชาการ จัดกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยว “สุขภาพดี เกษตรอินทรีย์ สะดืออีสาน” โปรแกรม 1 วัน วันที่ 6 สิงหาคม 2565 การจัดกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าว เป็นการทำงานภายใต้โครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565  ในชื่อ “ชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจรเพื่อการท่องเที่ยว”  โดยมี นางอัจฉรี จันทมูล นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เป็นหัวหน้าโครงการ  และมีคณะที่ร่วมรับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ และคณะวิทยาการสารสนเทศ   กิจกรรมในเส้นทางท่องเที่ยว เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เวลา 07.30 น. จุดที่ 1 วัดกลางโกสุม–วนอุทยานโกสัมพี กราบไหว้สักการะขอพรพระมิ่งเมือง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชมโฉมลิงแสมขนสีทองที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ชื่นชมทัศนียภาพแก่งตาด ที่สวยงามไปด้วยชั้นหินดินดานลดหลั่นกันคล้ายน้ำตก 
Read more