โครงการการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากผ้ามัดหมี่

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดย ผศ.ดร.บัญญัติ สาลี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ นางทัศนีย์ บัวระภา พร้อมด้วย นางอัจฉรี จันทมูล นางนิ่มนวล จันทะรุญ นักวิจัย บุคลากรและนิสิต ลงพื้นที่ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อค้นหา ลายอัตลักษณ์ผ้ามัดหมี่ บ้านหินลาด ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของ โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ปีงบประมาณ 2560 ที่สถาบันได้รับการจัดสรรงบประมาณใน     โดยมีนางทัศนีย์ บัวระภา เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งบ้านหินลาดมีกลุ่มการทอผ้าไหมมัดหมี่ ที่มีการทอจากลายที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและมีการพัฒนาลายใหม่ขึ้น  

พบว่า ผ้ามัดหมี่พื้นบ้าน ที่กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านหินลาด ส่วนใหญ่นิยมผลิตผ้าซิ่นคั่น ที่มีส่วนหัวผ้าซิ่นตัวซิ่นและตีนซิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยลวดลายกะจอน (ตุ้มหู) ลายดอกบักเชือ ลายดอกบักพริก ลายโคม เป็นต้น ซึ่งจะร่วมกันพิจารณากับประชาชนในชุมขน เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป แล้วนำเสนอต่อกลุ่มชาวบ้านและจัดอบรมในโอกาสต่อไป

ข่าว : ทัศนีย์,สุพิน

ภาพ  : ศรัณย์พงษ์