สัญลักษณ์
ความหมาย :
ตราประจำสถาบันฯได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะที่มีอายุมาหลายช่วงอายุคนจากลายเขียนสีที่บ้านเชียงและลายผ้าขิดของชาวอีสาน ลายเขียนสีบ้านเชียง เป็นลายวัฏฏะ แสดงให้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด ที่เริ่มต้นพัฒนาการมาอย่างละเอียดอ่อนจนกลายมาเป็นลายขิดที่แสดงพลังความแข็งแรงยืดหยัดเป็นศิลปะ คู่กับท้องถิ่นอีสาน
ปรัชญา
“ยุ้งฉางแห่งภูมิปัญญา พัฒนาสังคมแบบยั่งยืน”
วิสัยทัศน์
“ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสานในระดับเอเชีย”
พันธกิจ
- วิจัยและพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมอีสานในระดับเอเชีย
- บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง เผยแพร่ และพัฒนานวัตกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เพื่อสร้างคุณค่า มูลค่าทางวิชาการ และยกระดับมาตรฐานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล
ภารกิจ
“การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมศิลปะและวัฒนธรรมอีสานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ค่านิยมองค์กร
I = Intellect ปัญญาญาณ เฉลียวฉลาด
S = Self-knowledge รู้จักรากเหง้า (อีสาน)
A = Aesthetics สุนทรียภาพ
N = Notability เป็นที่รู้จัก
อัตลักษณ์
เสาหลักด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
เป้าประสงค์
- เป็นที่พึ่งในการเตรียมความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียนของสังคมและ ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีหน่วยวิจัยและผลงานที่มี ความโดดเด่นและเป็นอกลักษณ์ แตกต่างจากสถาบันอื่น
- การเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันทางด้านการวิจัยของ อาจารย์และนิสิตระดับ บัณฑิตศึกษา และการมี เครือข่ายการวิจัยร่วมกับนักวิจัย ภายนอกทั้งในหรือต่างประเทศ
- มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มี ประสิทธิภาพสอดคล้องตามอัตลักษณ์ ตอบสนองต่อการพัฒนาหน่วยงาน โดย บริหารตามหลักธรรมาภิบาล
- หน่วยงานต้องมีรูปแบบการจัด กิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรม สาธารณะเชิงรุกเพื่อให้หน่วยงาน เป็นที่รู้จักและเกิดการยอมรับ และ การจัดอันดับในระดับสากล
- มหาวิทยาลัยต้องมี คุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน มหาวิทยาลัยสีเขียว และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง เผยแพร่ พัฒนาศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิ ปัญญาท้องถิ่น และผสมผสาน วัฒนธรรมในระดับชาติและสากล
แผนที่ตั้ง
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์/โทรสาร : 0-4372-1686
Email : rinac@msu.ac.th
Website: https://rinac.msu.ac.th/
Facebook : https://www.facebook.com/rinac.msu/