สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานร่วมกับคณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานร่วมกับคณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

 

โครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

เมื่อวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2559 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนาธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกันจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อ “The International Conference on Culture,and Literature in the Mekong Basin” ณ โรงแรมรอยัล นาคารา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย นำโดย รองศาสตราจารย์  ดร.ปฐม  หงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองผู้อำนวยการฝ่ายงานต่างๆ   นักวิจัย  และบุคลากร  สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ในการนี้ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมมือกับเครือข่ายอุดมศึกษา คือ สถาบันศึกษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศ ได้แก่ National University of Lao PDR, Royal University of Phnom Penh, Southwestern Oklahoma State University, U.S.A, Kennesaw State University, U.S.A, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, หาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, หาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  หาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มานำเสนอแลกเปลี่ยนผลงานวิชาการ  นอกจากนี้ยังเป็นเวทีเปิดโอกาสสำหรับ คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงสถาบันอีกทั้งหน่วยงานวิจัยได้นำเสนอผลงานทางวิชาการและเผยแพร่

 

ซึ่งในการจัดโครงการครั้งนี้ ได้เสริมความเข้มแข่งและสร้างความโดดเด่นทางวิขาการเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นแก่สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนาธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมถึงสถาบันเครือข่าย อีกทั้งยังได้สนับสนุนให้นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษา โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาวิจัยทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมในหลากลายมิติ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติกับองค์กรภายในประเทศและระบบสากล และเป็นการส่งเสริมผลงานการวิจัยทางวิชาการและงานวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่างให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนบุคคลทั่วไปในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน