สถาบันวิจัยศิลปะฯ จัดกิจกรรมโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์การสังเคราะห์แนวทางจัดทำพจนานุกรมวิชาการคำศัพท์สมุนไพรมรดกภูมิปัญญาใน เอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
วันที่ 29 สิงหาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ “การสังเคราะห์แนวทางจัดทำพจนานุกรมวิชาการคำศัพท์สมุนไพรมรดกภูมิปัญญาในเอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” กิจกรรมภายในงานเสวนาได้รับเกียรติจาก อาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้กล่าวเปิดการเสวนาพร้อมกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเสวนาในโครงการ และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวทางจัดทำพจนานุกรมวิชาการคำศัพท์สมุนไพรมรดกภูมิปัญญาในเอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านอีสานในระบบออนไลน์ โดยมีผู้บริหารและบุคลากรสถาบันฯเข้าร่วมรับฟังการเสวนาและมีผู้ร่วมเสวนาออนไลน์ดังนี้
– รับฟังประเด็น “ประสบการณ์การจัดการ คำศัพท์แพทย์พื้นบ้านของประเทศไทย” โดย ดร.อุษา กลิ่นหอม อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– รับฟังข้อมูลเรื่อง “ประสบการณ์การศึกษา ตำรายาในเอกสารใบลาน” โดย รศ.วีณา วีสเพ็ญ อดีตผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
– รับฟังข้อมูลเรื่อง “ประสบการณ์การจัดการ คำศัพท์แพทย์พื้นบ้านของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศจีน ประเทศลาว ปะเทศกัมพูชา ประเทศเมียนมา และ ประเทศเวียดนาม” โดย ผศ.ดร.ราชันย์ นิลวรรณาภา และ ผศ.ดร.สมัย วรรณอุดร จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– นำเสนอข้อมูลเรื่อง “ประสบการณ์การ จัดการคำศัพท์แพทย์พื้นบ้านในภาคเหนือ ของประเทศไทย” โดย ดร.ดิเรก อินจันทร์ นักวิชาการศึกษา ศูนย์ใบลานศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
– นำเสนอข้อมูลเรื่อง “คำศัพท์สมุนไพรมรดก ภูมิปัญญาในเอกสำรโบราณด้านการแพทย์ พื้นบ้านอีสาน” โดยนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ นักวิจัย สถาบันวิจัยศิลปะวัฒนธรรม อีสาน
– แนวทางจัดทำพจนานุกรมวิชาการคำศัพท์สมุนไพรมรดกภูมิปัญญาในเอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้าน โดยพระอาจารย์ อุดล อคฺคธมฺโม
พร้อมกันนี้ได้เสวนาพูดคุยและร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวทางจัดทำพจนานุกรมวิชาการคำศัพท์สมุนไพรมรดกภูมิปัญญาในเอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านอีสาน เพื่อประโยชน์ทางด้านวิชาการและผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคต
ภาพ/ข่าว – พัชรินทร์ ประทุมชาติ