การอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงกบและผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมพร้อมบริโภคจากลูกอ๊อดและกบปลดระวาง
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2566 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน คณะเทคโนโลยี และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้การอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงกบและผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมพร้อมบริโภคจากลูกอ๊อดและกบปลดระวาง ภายใต้ โครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมพร้อมบริโภคจากลูกอ๊อดและกบปลดระวาง บรรจุภาชนะปิดสนิทสเตอริไลซ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น” สนับสนุนโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ณ วัดอัมพวัน บ้านดงเย็น ต. ราษฎร์เจริญ อ. พยัคฆภูมิพิสัย จ. มหาสารคาม โดยมีการอบรมให้ความรู้ในหัวข้อ ดังนี้
-การยกระดับสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice; GAP) โดย นายยงยุทธ สุดมี หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม
-การประเมินการใช้งานอุปกรณ์ชุดเพาะฟักและชุดกรองน้ำ โดย ผศ.ดร.วิภาวี ไทเมืองพล คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ
-การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุรีทอร์ทเพ้าซ์สเตอริไลซ์ ที่ได้รับการยอมจากผู้บริโภคและการปนเปื้อนจุลินทรีย์ ที่เป็นไปตามมาตรฐานการขอขึ้นทะเบียน อย.โดย ผศ.ดร.อัศวิน อมรสิน คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-การพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารวัฒนธรรมพร้อมบริโภคจากลูกอ๊อดและกบปลดระวาง โดย ดร.ยุทธชัย เกราะแก้ว ดร.ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์ ดร.กฤตยาวดี เกตุวงศา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-ความร่วมมือและการขับเคลื่อนสู่ Soft Power ด้านอาหารวัฒนธรรม โดย ผศ.ดร.ชูพักตร์ สุทธิสา สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มีกิจกรรมการประชันเมนูอาหารวัฒนธรรม 2 เมนู เมนูที่ 1.ขากบทอดปรุงรส เมนูที่ 2.กบยัดไส้ย่าง ผู้ร่วมประชัน คือ ตัวแทน 3 หมู่บ้าน (บ้านดงเย็น บ้านสี่เหลี่ยม และบ้านโนนแคน) เพื่อคัดเลือกเมนูเด็ดไปใช้ในการผลิตอาหารวัฒนธรรมบรรจุภาชนะปิดสนิทสเตอริไลซ์
ภาพ/ข่าว – จงรักษ์ คชสังข์