ลงพื้นที่เพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560 คณะกรรมการโครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย นิลอาธิ และนายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ หัวหน้าโครงการพร้อมคณะทำงาน ได้ลงพื้นที่เพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน ณ เขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้แก่ บ้านแมด, บ้านเขือง และบ้านหวายหลึม ภายใต้ “โครงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ประเพณีการเล่นในพิธีกรรมท้องถิ่น กรณีบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (มุ่งเป้า) มมส 2559 ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่คืนข้อมูลสู่ชุมชนดังกล่าว สิ่งหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นภาพจำที่งดงามก็คือ จากการที่คณะทำงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อปี 2559 และได้แปลงข้อมูลดังกล่าวมาเป็นงานวิจัย, เรื่องเล่า, วีดีทัศน์, หนังเล่มเล็ก, ประมวลภาพถ่าย ภายใต้ โครงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ประเพณีการเล่นในพิธีกรรมท้องถิ่น กรณีบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด” และจากผลพวงของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตลอดจนการเขียนรายงาน ตามที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีนโยบายให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะ/หน่วยงาน มีการดำเนินงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง และเผยแพร่ งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชน และเพื่อให้การดำเนินงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม “โครงการหนึ่งคณะหนึ่งศิลปวัฒนธรรม” ประจำปี 2559 บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ในการนี้ ทางคณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ ต่างรับรู้ในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจากการค้นคว้า และทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกรณีบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี 2559 พบว่ายังมีข้อมูลให้ทำการศึกษาน้อยมาก และทางด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการสื่อก็ถือว่ายังมีจำนวนน้อยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลให้การรับรู้กระบวนการพิธีกรรมดังกล่าวเกี่ยวกับการบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟยังอยู่ในวงแคบ ทั้งที่ถือเป็นประเพณีที่มีแบบแผนการปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน และมีที่เดียวในประเทศไทย คือที่ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด และจากการลงพื้นที่เพื่อคืนข้อมูลทำให้ทราบว่า “โครงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ประเพณีการเล่นในพิธีกรรมท้องถิ่น กรณีบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด” ได้สร้างสำนึกของความรักความหวงแหนมรดกที่ถือเป็นมรดกด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาวชุมชนเขตอำเภอเชียงขวัญ โดยสังเกตได้จากการเผยแพร่ข้อมูลทาง ยูทูป (Youtube) เฟสบุ๊ค (Face book) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีการแชร์เผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง ทั้งชุมชนและชาวบ้านเองต่างก็กล่าวถึงการลงพื้นที่ของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการบวชควายจ่า และจากการสอบถามพนักงานราชการบางท่านที่อาศัยอยู่ในชุมชน ก็พบว่า ทางหน่วยราชการก็ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในประเพณีมากขึ้น โดยมีการประชุมเพื่อจัดงานให้มีความยิ่งใหญ่กว่าเดิม ทั้งนี้ ถือได้ว่า “โครงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อเผยแพร่ประเพณีการเล่นในพิธีกรรมท้องถิ่น กรณีบวชควายจ่าในงานประเพณีบั้งไฟในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด” ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (มุ่งเป้า) มมส 2559 ได้สร้างจิตสำนึกของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ว่า “โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นโครงการที่มุ่งหวังเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้อง และเผยแพร่ งานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมต่อสาธารณชน แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะปิดลง และคณะทำงานได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้น หากแต่สิ่งหนึ่งที่คณะทำงานต่างรับรู้ร่วมกันเกี่ยวกับประเพณีบวชควายจ่า ของชุมชนเขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ก็คือ เมื่อปู่เผ้าเจ้าโฮงแดงเรียกลูกหลานกลับบ้าน ลูกหลานต้องกลับมา เพื่อร่วมกันสืบสานในประเพณี และกลับมาเยี่ยมญาติพี่น้องในทุกๆ ปี อันถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของปู่เผ้าฯ ที่แฝงฝังอยู่กับประเพณีบวชควายมาจวบเท่าทุกวันนี้