Page 72 - รายงานประจำปี 2565
P. 72
รายงานประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ถ่ายภาพที่ระลึกใน Photo Studio ๖) การออกร้านจัดแสดงงานศิลปะและจ าหน่ายงานฝีมือ (Art & Craft) ๗) การออกร้าน
จ าหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ๘)นิทรรศการ “เที่ยวเมืองมหาสารคาม” ๙) การแสดงดนตรีพื้นบ้านจาก
ศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และ ๑๐) การเดินแบบแฟชั่นจากผู้เดินแบบกิตติมศักดิ์ เดินแบบแฟชั่นจาก คักแท้แกด า และ
มหาสาร คาร์ฟ
เวทีเสวนา “Isan Literature beyond a Time Capsule : Isan Foodways อาหารการกินในวิถีชีวิต
วัฒนธรรมอีสาน”
วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ได้จัดเสวนาออนไลน์
ในหัวข้อ Isan Literature beyond a Time Capsule: Isan Foodways อาหารการกินในวิถีชีวิตวัฒนธรรมอีสาน
มีอาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อ านวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และอาจารย์ ดร.อภิราดี จันทร์แสง
รองผู้อ านวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้กล่าวต้อนรับและเป็นผู้ด าเนินการ
เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทความวิชาการภายใต้หัวข้อ Isan Literature beyond a Time Capsule : Isan Foodways
อาหารการกินในวิถีชีวิตวัฒนธรรมอีสาน และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิดังนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอี่ยม ทองดี
ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา รองศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ ธรรมวัตร รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงคุณ จันทจร อาจารย์
ดร.อุษา กลิ่นหอม เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลงานวิชาการด้าน
ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีผลงานทางวิชาการเข้าร่วมน าเสนอในการเสวนา จ านวน ๖ เรื่อง
ขับเคลื่อน U2T for BCG ต าบลลานสะแก อ าเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
วันที่ ๑๘ – ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน
ในท้องถิ่นด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์สบู่แชมพูสมุนไพรฮกฟ้าจากภูมิปัญญาชุมชนต าบลลานสะแก อ าเภอพยัคฆภูมิพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยยุทธศาสตร์ BCG (U2T for BCG)
ในช่วงวันดังกล่าวเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตกระดาษจากวัสดุธรรมชาติ ที่มีอยู่ในชุมชน
เพื่อการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนในล าดับต่อไป
๗๑