Page 78 - รายงานประจำปี 2565
P. 78

รายงานประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5

                                                      สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


             กลุ่มทอเสื่อกกไทบ้านแพงและศูนย์โอทอปมหาสารคาม นอกจากนี้ยังท าให้ทราบและเข้าใจในกระบวนยกระดับมาตรฐาน
             ผลิตภัณฑ์ ที่จะน าไปสู่การยื่นขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) และได้ความคิดเห็นเพื่อหาอัตลักษณ์ในการ

             สร้างแบรนด์หรือตราสินค้า “กกโก ทวารวดี” “KOKKO DVARAVATIW” เป็นชื่อแบรนด์ของกลุ่มต่อไป















                 สถาบันวิจัยศิลปะฯ จัดโครงการตลาดศิลปะและวัฒนธรรม มมส.

                  วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ สถาบันวิจันศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จัดโครงการตลาดศิลปะและวัฒนธรรม มมส.  โดยมี
             พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นพื้นที่การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และส่งเสริมการสร้างรายได้ให้

             ท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นโดยการเป็นพื้นที่จัดแสดง จ าหน่ายและน าเสนอผลิตภัณฑ์ของชุมชน ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม
             การออกร้านจัดแสดง Art and Craft และ Workshop จ าหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น U2T, มหาสาร คราฟท์, คักเเท้แกด า,

             กันทรวิชัยรุ่งเรือง อาหารการกิน ตลาดนัดสีเขียว เเละอาหารเพื่อสุขภาพ การเเสดงเเคนวงประยุกต์ และกิจกรรมนิสิตต่างๆ
             ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

















                  สถาบันวิจัยศิลปะฯ เสวนาออนไลน์ในโครงการการศึกษาวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยใน
             ประเทศออสเตรเลีย

                  วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ร่วมกับชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์ แห่งประเทศ
             ออสเตรเลีย และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดเสวนาออนไลน์ในโครงการการศึกษาวัฒนธรรมการ

             จัดการเรียนการสอนดนตรีไทยในประเทศออสเตรเลีย ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
             หัวข้อการเสวนา เรื่อง “วัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยในประเทศออสเตรเลีย” โดยอาจารย์ชาญพัฒน์

             จันทมูล ผู้ก่อตั้งชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลีย และ หัวข้อ “วัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอน
             ดนตรีพื้นบ้าน” โดยอาจารย์ชาติอาชา พาลีละพิศิษฐ์กุล จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และ อาจารย์กีรติวัจน์ ธนภัทรธุวานันท์

             จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เป็นผู้ร่วมเสวนา ก่อนเริ่มการเสวนาได้มีการแสดงจากแคนวงอีสานคลาสสิก และ
             หนังประโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) โดยนิสิตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ การจัดโครงการในครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

             ในวัฒนธรรมของสองประเทศร่วมกัน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในคุณค่าและความส าคัญของวัฒนธรรม
             ดนตรีที่ได้เผยแพร่และถ่ายทอดในต่างแดนน าไปสู่ความร่วมมือในการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อ

             สังคม หรือจะเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีไทยของสองประเทศต่อไปในอนาคต


                                                            ๗๗
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83