Page 5 - รายงานประจำปี 2565
P. 5
รายงานประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศิลปวัฒนธรรม งานบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมให้มีความโดดเด่น สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน-สังคมได้อย่าง
ยั่งยืนและเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๖๔ มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์
ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้
พิจารณาให้ความเห็นชอบการตัดโอนบุคลากรพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน ๔ ราย ที่สังกัดกองส่งเสริม
การวิจัยและบริการวิชาการ ไปสังกัดสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน โดยมีอาจารย์ทม เกตุวงศา ด ารงต าแหน่ง
ผู้อ านวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการในพันธกิจหลักด้านการท านุบ ารุงศิลปะ
และวัฒนธรรมให้มีความโดดเด่น อีกทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความ
ต้องการของชุมชน สังคม ที่สอดรับกับหนึ่งในยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้ปรับแผนกลยุทธ์ในการสร้างศักยภาพเพื่อพัฒนาองค์ความรู้
เชื่อมโยงสู่ภาคีเครือข่ายในมิติการศึกษา-ศิลปะ-สังคม-วัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ และอีสานศึกษา ตลอดจนพัฒนาเป็นแหล่ง
การเรียนรู้ด้านผ้าทออีสาน ด้านเอกสารโบราณ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ชุมชน และท้องถิ่นอีสาน
ท าเนียบผู้บริหารสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ตามวาระ ดังนี้
๑. อาจารย์อาคม วรจินดา ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ - พ.ศ. ๒๕๓๘
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุณี พันทวี ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ - พ.ศ. ๒๕๔๒
๓. อาจารย์อาคม วรจินดา ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ - พ.ศ. ๒๕๔๖
๔. อาจารย์ ดร.ทรงคุณ จันทจร ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ - พ.ศ. ๒๕๕๐
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงคุณ จันทจร ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ - พ.ศ. ๒๕๕๔
๖. รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ - พ.ศ. ๒๕๕๘
๗. รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ - พ.ศ. ๒๕๖๓
๘. อาจารย์ทม เกตุวงศา ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน
ที่อยู่และการติดต่อ
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต าบลตลาด อ าเภอเมือง จังหวัด
มหาสารคาม โทรศัพท์ : ๐-๔๓๗๒-๑๖๘๖ โทรสาร : ๐-๔๓๗๒-๑๖๘๖ โฮมเพจ http://www.rinac.msu.ac.th
สัญลักษณ์
ความหมาย : ตราประจ าสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะ
ที่มีอายุมาหลายช่วงอายุคนจากลายเขียนสีที่บ้านเชียงและลายผ้าขิดของชาวอีสาน ลายเขียนสี
บ้านเชียง เป็นลายวัฏฏะ แสดงให้เห็นการเวียนว่ายตายเกิด ที่เริ่มต้นพัฒนาการมาอย่าง
ละเอียดอ่อนจนกลายมาเป็นลายขิดที่แสดงพลังความแข็งแรงยืดหยัดเป็นศิลปะ คู่กับท้องถิ่น
อีสาน
๔