อำนาจหน้าที่
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เป็นส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีพันธกิจเกี่ยวกับด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนการเรียนการสอนในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนและนโยบายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
ด้านการวิจัย
มีหน้าที่ วิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม ที่บูรณาการหลายศาสตร์ โดยสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชนต่อสังคมประเทศชาติได้อย่างงมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน และเพื่อตอบสนองการแก่ปัญหาของชุมชน สังคมและประเทศ
- ผลักดันและส่งเสริมให้นักวิจัยผลิตผลงานวิจัย และตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติเพื่อการเข้าสู่ Global and Frontier Research
- สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัย นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และขยายผลต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น
- ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยด้านเอกสารโบราณ ผ้าทอ อาหาร และกลุ่มชาติพันธุ์ ให้มีความโดดเด่น
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและยกระดับงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
ด้านการบริการวิชาการ
มีหน้าที่ เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และบริการวิชาการแก่สังคม เสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีการบูรณาการด้านการบริการวิชาการเข้ากับการวิจัย การเรียนการสอนเพื่อพัฒนานิสิต มีการทำงานเชิงวิชาการร่วมกัน (Engagement) ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และสังคม รวมทั้งเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
- การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง
- การส่งเสริมชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านบริการวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มีหน้าที่ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน และภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะทุนทางวัฒนธรรม มีการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเข้ากับการวิจัยและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพนิสิตและประชาชน การสร้างมูลค่าเพิ่ม และคุณค่าเพิ่มให้กับศิลปะ
ด้านการบริหารจัดการ
มีหน้าที่ บริหารจัดการหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีสมรรถนะการทำงานที่ดี สร้างความมั่นคงและความสุขในการทำงานและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของหน่วยงานได้ มีระบบการบริหารงบประมาณ การเงินและพัสดุ ที่มีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้ มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารความเป็นเลิศ EdPEx
- เตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสถานการณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น
- มุ่งการจัดหารายได้จากแหล่งอื่นให้มากที่สุด เช่น รายได้จากการวิจัย บริการวิชาการ
- รองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น Smart University