สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จัดโครงการการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือวัฒนธรรมผ้าทอ ASEAN +3 (The International Cultural Exchange and Collaboration: ASEAN+3 Textiles Project)
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน จัดโครงการการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือวัฒนธรรมผ้าทอ ASEAN +3 (The International Cultural Exchange and Collaboration: ASEAN+3 Textiles Project) ณ อาคารวัฒนธรรมสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออนไลน์ผ่าน webex meeting โดยนายวิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน Mr.Lin Haoye ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายจีน) กล่าวต้อนรับ อาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน กล่าวรายงาน การจัดงานในครั้งนี้มีวุตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการด้านสิ่งทอและส่งเสริมให้นักวิชาการ นิสิตและชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมในการวิจัยและพัฒนาสิ่งทอ ตลอดจนเป็นการสร้างความร่วมมือทางวิชาการภายในเครือข่ายระดับชาติและระดับนานาชาติ ทั้งนี้ภายในงานมีกิจกรรม ดังนี้
การเดินแฟชั่น ‘UKAS save the Roots: Maha Sarakham Fabric go Funky ! by KAI UKAS’
การบรรยาย ‘วัฒนธรรมผ้าทอในประเทศจีน’ โดย Professor Liang Hanchang, Guangxi University for Nationalities, China
การบรรยาย ‘วัฒนธรรมผ้าทอในสหราชอาณาจักร’ โดย Professor Peter Pilgrim Professor Emeritus, Ravensbourne University, United Kingdom
การเสวนาในหัวข้อ ‘แนวทางการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายประเทศ ASEAN+3 ด้านการพัฒนาวัฒนธรรมผ้าทอ’ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล นายกสมาคมสมาคมเพื่อการพัฒนาศิลปะและหัตถศิลป์ไทย นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ธีระ จันทิปะ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ คุณพีร์อุมากร วระเศรษฐ์ถาพร ‘Kai UKAS’ ดร.วิทยา วุฒิไธสง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.หนึ่งฤทัย จันทรคามิ และ Ms.Doung Thuy Duong คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Ms.May Tha Zin Ae, Royal Thai Embassy, Yangon, Myanmar และ Dr.Vannak Sorn, National Institute of Education, Cambodia ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทม เกตุวงศา และอาจารย์ ดร.อภิราดี จันทร์แสง
ข่าว: พัชรินทร์ ประทุมชาติ
ที่มา: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
ภาพ: นายบุญชู ศรีเวียงยา