ลงพื้นที่เก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนแกดำ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้รู้ในชุมชน
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 งานพิพิธภัณฑ์เเละจดหมายเหตุ โดยนายวุฒิกร กะตะสีลา เเละ นายเกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา นักวิชาการศึกษา สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ทำงานร่วมกับทึมนักวิจัยโครงการ”จากต้นทุนของแหล่งน้ำสู่กลุ่มศิลปะเเละวัฒนธรรมหนองแกดำ โดยมีอาจารย์ทม เกตุวงศา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เป็นผู้ร่วมวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก บพท ลงพื้นชุมชนบ้านแกดำ ต.แกดำ อ.เเกดำ จ.มหาสารคาม เพื่อทำการเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนแกดำ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการให้ผู้รู้ในชุมชนมาเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ความเชื่อ สถานที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน
.
ผู้มีส่วนร่วมได้แก่ ผู้นำชุมชนบ้านแกดำ คณะกรรมการศาลหลวงปู่จ้อย และชาวบ้านชุมชนบ้านแกดำ ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลกับทีมวิจัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรม ให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากโครงการในการพัฒนาพื้นที่มากที่สุด
.
จากการเก็บรวบข้อมูลพบว่าคนในชุมชนมีความเชื่อ เคารพ ศรัทธาในหลวงปู่จ้อยและเชื่อว่าเต่าที่พบในบริเวณนั้นเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่จับหรือทำลาย และชุมชนมีการผลิตภัณฑ์การจักสาน กระติบข้าว ตะกร้า ทางทีมวิจัยจึงได้นำเสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยให้ชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากองค์ความรู้ของชุมชนในด้านการจักสานโดยสร้างผลิตภัณฑ์จักสานเต่าจากไม้ไผ่ และเส้นพลาสติก โดยให้ชื่อว่า “เต่าหลวงปู่จ้อย” เพื่อจำหน่าย ซึ่งชุมชนได้เห็นด้วยและมีข้อเสนอแนะให้พื้นที่ในชุมชนแกดำทำผลิตภัณฑ์เป็นรูปเต่าเช่นการปั้น เพื่อใช้เป็นเครื่องบูชา สำหรับผู้มากราบไหว้ที่ศาลหลวงปู่จ้อย ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดนวัตกรรมจากความเชื่อและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
.
จากข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนร่วม ทางคณะทำงานและทีมวิจัยจะได้นำข้อเสนอของชุมชน ไปออกแบบพัฒนารูปแบบการผลิตภัณฑ์จักสานเต่าจากไม้ไผ่เส้นพลาสติก และใบมะพร้าว และลงพื้นที่ให้ถ่ายทอดวิธีการนำเต่าที่ได้จากการจักสานมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและมีการจำหน่ายในชุมชนแล้ว ส่วนการปั้นเต่ามีขั้นตอนและต้องใช้ทักษะและเทคนิคมากจึงยังเป็นการทดลองทำให้เกิดความชำนาญ
.
ภาพ/ข่าว – เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา