รายละเอียดโครงการ
หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีบทบาทอย่างโดดเด่นในการผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่มีแนวนโยบายต่อการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
ววิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานมุ่งเน้นการเป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้นำการวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมในภาคตะวันออก เฉียงเหนือและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการสืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งการส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการยอมรับและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยในระดับสากล ซึ่งการวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ถือเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้บุคลากรทางการวิจัย ได้สร้างองค์ความรู้ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันให้สังคมเกิดการพัฒนาศักยภาพ และมีความพร้อมในการรองรับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกขณะ
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติขึ้น เพื่อตอบสนองกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ดังกล่าว ภายใต้หัวข้อ “เวทีวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา” ครั้งที่ 3 ให้กับกลุ่มคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสถาบัน อุดมศึกษา และผู้สนใจได้ใช้เป็นเวทีประชุมฯ และนำเสนอผลงานวิจัย ผลงานวิชาการระดับชาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ สร้างเครือข่ายร่วมกัน ตลอดจนได้ต่อยอดงานวิจัย งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม การนำเสนอผลงานในครั้งนี้แบ่งเป็นภาคบรรยาย (Oral Presentation) และภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มภาษาและจารึกศึกษา (2) กลุ่มวรรณกรรมกับสังคม และ (3)
กลุ่มศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเป็นเวทีประชุมและนำเสนอผลงานวิจัย ผลงานวิชาการระดับชาติให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสถาบันอุดมศึกษา และผู้สนใจ
2. เพื่อเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการให้ผู้สนใจได้นำไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และผู้สนใจ ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและด้านวิชาการ
เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. ผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจจากคณะ/หน่วยงานเจ้าภาพจัดการประชุม และสถาบันระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่า 200 คน
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ มีความพึงพอใจต่อการจัดงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ระยะเวลา และสถานที่จัดประชุม
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รูปแบบการดำเนินการ
1. การบรรยายพิเศษ (Keynote Speaker)
2. การพิจารณาคัดเลือกผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
3. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย (Oral Presentation)
4. การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
5. การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
6. การจัดแสดงนิทรรศการผลงานและผลิตภัณฑ์ชุมชน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นเวทีประชุมและนำเสนอผลงานวิจัย ผลงานวิชาการระดับชาติให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสถาบันอุดมศึกษา และผู้สนใจ
2. มีองค์ความรู้จากผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และผู้สนใจ จากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะสามารถนำไปต่อยอดทั้งในเชิง วิชาการ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมได้
3. เกิดเครือข่ายด้านการวิจัยและด้านวิชาการ
แผนการดำเนินงาน
กิจกรรม | วัน/เดือน/ปี |
---|---|
เปิดรับผลงานฉบับเต็ม (Full Paper) ทั้งนำเสนอแบบบรรยาย และแบบโปสเตอร์ ทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ ลงทะเบียน |
เริ่มตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2563 |
ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ | 20 มกราคม – 10 กรกฎาคม 2563 |
แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและส่งคืนบทความฉบับสมบูรณ์ (Complete Full Paper) | 20 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2563 |
ประกาศผลการพิจารณาบทความ (Accept/Reject) | 5 สิงหาคม 2563 |
เปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมโดยไม่นำเสนอผลงานผ่านทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ https://rinac.msu.ac.th/conference2020 | ตั้งแต่บัดนี้ - 10 สิงหาคม 2563 |
นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ | 14 สิงหาคม 2563 |
การพิจารณาผลงาน
1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน
2. พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 2 ท่าน และประเมิน ผลงานตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนด
3. พิจารณาคัดเลือกผลงานที่จะนำเสนอในการประชุมฯ และที่จะรวบรวมเป็นรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings)
4. พิจารณาคัดเลือกผลงานเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร “วิจัยศิลปะและวัฒนธรรมศึกษา” ของสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์/โทรสาร 043-721-686 e-mail : rinacconf@msu.ac.th
© 2020 by Rinac MSU.